ส้มตำ มีที่มาอย่างไร
Share : facebook line twitter messenger

ส้มตำ มีที่มาอย่างไร

บทความ ร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา



เพื่อน ๆ มีใครชอบ ทาน ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) กันบ้างคะ มีหลากหลาย ตำ ให้เลือกทานกัน อย่างมากมาย เลยใช่ไหมล่ะคะ แต่เพื่อน ๆ รู้รึเปล่าว่า ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) มีที่มาอย่างไร มาดูกันค่ะ

 

ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) เป็นอาหารมาจาก การทำตำส้ม คือ การทำให้เปรี้ยว ในลาวจะเรียกว่า ตำหมากหุ่ง ปรุงโดยนำมะละกอดิบ ที่สับแล้วฝาน หรือ ขูดเป็นเส้น มาตำในครกเป็นหลัก พร้อมด้วย วัตถุดิบอื่น ๆ คือ มะเขือเทศลูกเล็ก มะเขือสีดา มะเขือเปราะ พริกสด หรือ พริกแห้ง ถั่วฝักยาว กระเทียม และ ปรุงรสด้วย น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา มะนาว

 

ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam )  ชื่อนี้มีที่มา

คำว่า ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) นั้นเกิดจาก คำสองคำ ที่นำมาผสมกัน ได้แก่คำว่า ส้ม ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น ของภาคอีสาน ที่มีความหมายว่า รสชาติเปรี้ยว และ คำว่า ตำ นั้นก็ คือ การใช้อุปกรณ์ เครื่องครัวชนิดหนึ่ง หรือ ก็คือ สาก โดยเราจะใช้สาก โขลกลงไป เพื่อให้วัตถุดิบ ทั้งหมดเข้ากัน และ เมื่อนำทั้งสองคำนี้ มารวมกัน ก็จะหมายความว่า อาหารรสเปรี้ยว ที่เกิดจากการโขลก หรือ ตำนั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) ของคนอีสานนั้น มีความหมายกว้าง ๆ คนทางภาคอีสาน เรียกส้มตำว่า ตำบักหุ่ง หรือ ตำหมากหุ่ง หมากหุ่ง ก็คือมะละกอ ในภาษาอีสาน แล้วเรียกตำแตงกวาว่า ตำหมากแตง ตำถั่ว ก็คือ ตำถั่วฝักยาว วิธีทำก็ทำคล้าย ๆ กับ ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) แต่ ใส่ถั่วฝักยาวกัน แทนมะละกอ ตำละเอียดว่า ใส่ส้มสองอย่าง คือ มะนาว และ มะขามเปียก แล้ว ใส่ปลาร้า บางคนก็ใส่มะกอก กินกับข้าวเหนียว ปลาปิ้ง และ ผักดอง

 

ส่วนผสม และ เครื่องปรุงต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) มีรสเผ็ด เค็ม และ เปรี้ยว ไทยภาคอีสาน นิยมส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) รสเผ็ดเค็ม ส่วนไทยภาคกลาง นิยมรสเปรี้ยวหวาน นิยมรับประทาน กับข้าวเหนียว และ ไก่ย่าง บางครั้งรับประทาน กับขนมจีน เส้นเล็กลวก เส้นหมี่ และ แคบหมู โดยมีผักสด เป็นเครื่องเคียง เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตลอดจนผักดอง ( ผักส้ม ) ผักกาดขาว ผักชีฝรั่ง ถั่วงอก ทูน ใบชะพลู ( ผักอีเลิศ ) เป็นต้น

 

 

นอกจากนี้ ร้านส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) ส่วนใหญ่ มักขายอาหารอีสานอื่นด้วย เช่น ซุบหน่อไม้ อ่อม ลาบ ก้อย แจ่ว น้ำตก ซกเล็ก ตับหวาน ไก่ย่าง คอหมูย่าง พวงนม กุ้งเต้น ก้อยกุ้ง เป็นต้น

 

 

ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) แบ่งออกได้เป็น 4 อย่าง ใหญ่ ๆ ที่นิยมสั่ง รับประทาน มีดังนี้

- ตำปลาร้า คือ ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) ที่ใส่ปลาร้า หรือ อีสานเรียกว่าปลาแดก หรือ ปลาร้า เป็นหลัก นิยมรับประทานกันมาก ในภาคอีสาน และ ประเทศลาว และ ถือเป็นตำไทยอีสานอย่างหนึ่ง

- ตำปู คือ ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) ที่ใส่ปูเค็ม หรือ ปูดอง แทนกุ้งแห้ง และ ถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ บางแห่งนิยมปูดิบ บางแห่งนิยมปูสุก บางแห่งนิยมปูนา หรือ ปูทะเล

- ตำปูปลาร้า คือ ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) ที่ใส่ทั้งปู และ ปลาร้าลงไป

- ตำไทย คือ ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) ที่ไม่ใส่ปู และ ปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้ง และ ถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติออกหวาน และ เปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู

- ตำลาว คือ ส้มตำ ( Papaya Salad / Som Tam ) สูตรดัดแปลง ของชาวลาว ที่ได้รับอิทธิพล จากชาวไทย ซึ่งมีความแตกต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่น นิยมใส่ปลาแดก และ มะละกอดิบ เป็นหลัก บางครั้งเรียกว่า ตำปาแดก ที่เรียกว่าตำลาวนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจน และ แยกกัน ระหว่างตำลาว กับ ตำไทย เดิมแล้วเรียกตำลาวว่า ตำหมากหุ่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เมนู กาแฟ ที่ควรลองของ โคโค่ เจ้าพระยา ( Coco Chaophraya )

มันฝรั่งบด ( Mashed Potato ) เครื่องเคียง ยอดนิยมของ โคโค่ เจ้าพระยา

Created : 16-07-2021

บทความที่น่าสนใจ

ตำนานความอร่อยของพิซซ่า กับ cocochaophraya

ร้านอร่อยบนถนนพระอาทิตย์