ส้มตำ อาหารอีสาน ก็กินที่ ร้านอาหารริมน้ำ ได้
Share : facebook line twitter messenger

ส้มตำ อาหารอีสาน ก็กินที่ ร้านอาหารริมน้ำ ได้

บทความ ร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา



ถ้าพูดถึงเรื่อง ส้มตำ หลายคนต้องนึกถึงรสชาติแซบแสบปากแน่นอน ถ้าพูดถึง อาหารอีสาน คงต้องนึกถึง ส้มตำ ก่อนเป็นแน่ แต่ ส้มตำ ไม่ได้หากินได้จากร้านข้างทางอีกต่อไปแล้ว สามารถกินได้ที่ ร้านอาหารริมน้ำ แล้วนะ

 

ที่มาของชื่อ “ ส้มตำ ”

     คำว่า " ส้มตำ " นั้นเกิดจากคำสองคำที่นำมาผสมกันได้แก่คำว่า " ส้ม " ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของภาคอีสานที่มีความหมายว่า รสชาติเปรี้ยว และคำว่า "ตำ" นั้นก็คือการใช้อุปกรณ์เครื่องครัวชนิดหนึ่ง หรือก็คือ สาก โดยเราจะใช้สากโขลกลงไปเพื่อให้วัตถุดิบทั้งหมดเข้ากัน และเมื่อนำทั้งสองคำนี้มารวมกันก็จะหมายความว่า อาหารรสเปรี้ยวที่เกิดจากการโขลก หรือตำนั่นเอง อย่างไรก็ตามตำส้มของคนอีสานนั้นมีความหมายกว้าง ๆ คนทางภาคอีสานเรียกส้มตำว่า ตำบักหุ่ง หรือตำหมากหุ่ง หมากหุ่งก็คือ มะละกอในภาษาอีสาน แล้วเรียกตำแตงกวาว่า "ตำหมากแตง" ตำถั่วก็คือ ตำถั่วฝักยาว วิธีทำก็ทำคล้าย ๆ กับ ส้มตำ แต่ใส่ถั่วฝักยาวกันแทนมะละกอตำละเอียดว่า ใส่ส้มสองอย่าง คือ มะนาว และมะขามเปียก แล้วใส่ปลาร้า บางคนก็ใส่มะกอก กินกับข้าวเหนียว ปลาปิ้ง และผักดอง เข้ากันสุด ๆ

     ส้มตำ เป็นเมนูอาหารประจำท้องถิ่นของภาคอีสาน มีความโดดเด่นในเรื่องรสชาติที่จัดจ้าน กลิ่นหอมสุดยั่วใจจนทำให้น้ำลายสอ รับประทานแล้วอร่อยแซบเว่อร์ ด้วยความอร่อย และความแซบนี้เอง จึงทำให้เมนู ส้มตำ มีคนนิยมรับประทานกันกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย และยังดังไกลไปถึงเมืองนอก แต่เคยสงสัยไหมคะว่า ส้มตำ มาจากไหนกัน

     ส้มตำ มีต้นกำเนิดไม่ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่ามีที่มาที่ไปจากทางภาคอีสานของไทยราว ๆ 50 ปีก่อนหน้านี้เท่านั้น เพราะในช่วงสมัยดังกล่าวเป็นช่วงสงครามเวียดนาม มีการสร้างสะพานมิตรภาพขึ้นเพื่อลำเลียงยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งนำเมล็ดพันธุ์มะละกอมาปลูกทั้งสองข้างทางของถนนมิตรภาพ ด้วยเหตุนี้มะละกอจึงเป็นพืชที่ปลูกทั่วไปในภาคอีสาน และด้วยภูมิปัญญาของชาวอีสานจึงได้คิดค้นอาหารรสแซบจากมะละกอจานนี้ขึ้นมานั่นเอง

     ส้มตำ จึงไม่ใช่อาหารดั้งเดิมแต่โบราณของไทย หรือลาวอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะวัตถุดิบหลายอย่าง ทั้งมะละกอ พริก ต่างก็ได้รับมาจากต่างประเทศ ส่วนน้ำปลาก็ต้องใช้ปลาทะเลในการทำ แต่ไม่ว่าส้มตำจะเป็นอาหารโบราณ หรืออาหารที่เพิ่งคิดค้นขึ้นใหม่ ก็ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าอาหารจานแซบนี้เป็นเจ้าประจำของการจัดอันดับอาหารที่ได้รับการโหวตว่าอร่อยที่สุดในโลกจากบรรดานักท่องเที่ยวที่เคยมาเยี่ยมเยือนประเทศไทย

     มะละกอ เป็นพืชที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาไกลเพราะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกากลาง ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้นก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้มีชาวสเปน และชาวโปรตุเกตนำเอามะละกอเข้ามาปลูกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านเรา ท่านทูตนีโกลา แฌร์แวซ และซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ. 2185-2272 ) ได้เขียนบันทึกไว้ว่าได้รู้จักกับมะละกอซึ่งกลายเป็นพืชพื้นเมืองของสยาม แต่ในตอนนั้นเรียกว่าผรั่งก็เรียกว่า Melon ( แตงไทย )

     นอกจากนั้นแล้วในปี พ.ศ. 2475-2479 รัฐบาลไทยสนับสนุนคนไทยให้มีการเพาะปลูกมะละกอ เพื่อเอายางส่งไปขายต่างประเทศ โดยนำไปผลิตเป็นหมากฝรั่ง มีการเพาะปลูกมะละกอเรียงรายไปตามถนนมิตรภาพ และเคยมีศูนย์คัดแยกพันธ์มะละกออยู่ที่ตำบลทับกวาง อําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างศรีลังกาในสมัยนั้น มียอดการส่งออกยางมะละกอไปที่สหรัฐอเมริกามากกว่าปีละ 300,000 บาทเลยทีเดียว

     นอกจากนั้นยังไม่มีวัตถุดิบอีกอย่างที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ " พริก " โดยที่พริกนั้นได้เข้ามาในประเทศไทยของเราก็เมื่อตอนที่ชาวชาวฮอลันดาได้นำพริกเข้ามาปลูกในประเทศไทย ซึ่งพริกนั้นเป็นวัตถุดิบหลักอีกอย่างที่ทำให้รสชาติของ ส้มตำ นั้นมีความจัดจ้าน เผ็ดร้อน แซบถึงใจ

     หากจะเจาะลึกถึงความเป็นมา ส้มตำ ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ใครเป็นนำมะละกอมาขูดเป็นเส้น ๆ แล้วตำรวมกับเครื่องปรุงอื่น ก็เป็นเรื่องยากเพราะไม่มีหลักฐานการบันทึกไว้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตำราอาหารไทยที่เก่าแก่อย่าง “ ตำราอาหารแม่ครัวหัวป่าก์ ” ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ถูกตีพิมพ์ออกมาใน พ.ศ 2451 แต่ในนั้นไม่ได้มีการพูดถึง ส้มตำ ไว้เลย วรรณกรรมที่พูดถึง ส้มตำ ก็คือ ตำรับสายเยาวภา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ที่มีกล่าวถึง ข้าวมัน ส้มตำ ที่เสิร์ฟเป็นชุด ๆ รสชาววังนุ่มนวลไม่จัดจ้าน แต่เป็นอาหารที่ทานกันในโอกาสพิเศษมากกว่า

     ดังนั้น ส้มตำ จึงไม่ได้เป็นอาหารเก่าแก่โบราณอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ อาหารจานแซบนี้น่าจะมีอายุราว ๆ เกือบ 100 ปีได้แล้ว หลังจากสิ้นสุดสงครามครั้งที่ 2 ก็มีการสร้างสนามมวยราชดำเนินขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งตอนนั้นชาวอีสานก็ได้มีการอพยพมาอยู่กรุงเทพกันมากขึ้น โดยมีการปลูกสร้างบ้านเรื่อน หรืออาศัยกันอยู่แถวนั้นจนกลายเป็นแหล่งชุมชนของคนอีสาน คนกรุงเทพสมัยนั้นไม่ได้หาอาหารรสแซบของชาวอีสานกันได้ง่าย ๆ เหมือนในปัจจุบัน ถ้าอยากทานต้องเดินทางมาที่แถว ๆ สนามมวยราชดำเนินเท่านั้น

 

     แต่ปัจจุบันนี้ ส้มตำ ไม่ได้หากินยากแล้ว เดินไปไหนก็แทบจะเจอแต่ร้าน ส้มตำ ซึ่งทางร้าน โคโค่ เจ้าพระยา ( Coco chaophraya ) คาเฟ่ ร้านอาหารริมน้ำ กับอาหารสุดแสนอร่อย ก็ได้นำ ส้มตำ มาเป็นส่วนหนึ่งในเมนูอาหารที่ร้านเช่นกัน ซึ่งร้านเรามีทั้งเมนูคาว, หวาน ให้เลือกแบบจุใจ แม้กระทั่ง ส้มตำ เราก็ไม่พลาด แต่ทางร้านจะมีให้ทานแค่ ส้มตำ ไทย อาจจะไม่ได้มีปลาร้าให้ทาน แต่รับรองว่าอร่อยไม่แพ้กัน และยังมีเมนูอาหารหลากหลายสไตล์ ทั้ง ไทย, เทศ, อิตาลี ก็มาแบบจัดเต็ม พร้อมให้คุณสัมผัสแสนอร่อย ไปพร้อมบรรยากาศอันแสนอบอุ่น ร้านตั้งอยู่แถวถนนพระสุเมรุ ติดกับ สวนสาธารณะสันติชัยปราการ หรือขับรถมาจอดแถวป้อมพระสุเมรุ เดินไม่กี่ก้าว รู้ตัวอีกที คุณก็ถึงร้านเราแล้วร้านเราเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 น. - 21.00 น. อยากพักผ่อน และอิ่มไปพร้อมกัน มาพบความสุขได้ที่นี่ ร้านอาหารริมน้ำ เจ้าพระยา กับอาหารสุดแสนอร่อย โคโค่ เจ้าพระยา ( Coco chaophraya )

 

     โคโค่ เจ้าพระยา ( Coco Chaophraya ) เป็นร้านอาหารที่หลากหลาย ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกเมนูต่าง ๆ ที่อยากกินได้มาก และมีราคาไม่แพง คุ้มค่า สบายกระเป๋า รสชาติอร่อย พร้อมกับ บรรยากาศริมน้ำชิล ๆ วิวแม่น้ำ เจ้าพระยา และสะพานพระราม 8 เห็นแบบนี้แล้วให้ โคโค่ เจ้าพระยา ( Coco Chaophraya ) ดูแลมื้ออาหารสุดพิเศษให้กับคุณนะคะ

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

คลายล็อกดาวน์แล้ว มาทานอาหารที่ โคโค่ เจ้าพระยา

ไอศกรีม ซอร์เบท หอม หวาน ต้องยกให้ โคโค่ เจ้าพระยา

Created : 03-09-2021

บทความที่น่าสนใจ

โคโค่ เจ้าพระยา ร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปักหมุดไว้ได้เลย

แนะนำพิชซ่า อาหารฟาสต์ฟู้ดที่ โคโค่เจ้าพระยา